วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ระดับของภาษา 

 ภาษาไทยแบ่งเป็น ๕ ระดับ 

ภาษาระดับพิธีการ      ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญ
มีตำแหน่งสูง ผู้รับสารอาจเป็นบุคคลในวงการเดียวกัน หรือเป็นประชาชนทั้งประ
เทศหรือกลุ่มชนส่วนใหญ่ สารจะมีลักษณะเป็นทางการ ภาษาที่ใช้จะไพเราะสละ
สลวย มีการเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้า

ภาษาระดับทางการ
       ใช้สื่อสารกันในการอภิปราย บรรยายอย่างเป็นทางการ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
มักอยู่ในวงการเดียวกัน สารจะมีลักษณะเจาะจง น่าสนใจ ภาษาที่ใช้ตรงไปตรงมา
ใช้ภาษากะทัดรัด ความหมายชัดเจน ประหยัดถ้อยคำและเวลา
ภาษาระดับกิ่งทางการ       มักใช้ในการประชุมกลุ่ม หรืออภิปรายกลุ่ม การบรรยายในห้องเรียน เป้นการ
สื่อไปสู่กลุ่มบุคคล อาจมีการโต้ตอบบ้าง เนื้อหาของสารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้
ทั่วไปธุรกิจการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ มีศัพท์วิชาการบ้าง ภาษาที่ใช้จะทำให้
รู้สึกคุ้นเคยกว่าภาษาระดับทางการ

ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
       มักใช้ในการสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคล ๔-๕ คน ในสถานที่ไม่ใช่ส่วนตัว ผู้รับ
สารและผู้ส่งสารจะรู้จักคุ้นเคยกัน เนื้อหาของสารในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม
ภาษาระดับกันเอง

       ใช้กันในวงจำกัด ใช้กับบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน เช่น บิดา มารดา เพื่อน
สนิทในสถานที่ที่มักเป็นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ภาษาที่ใช้อาจมีคำคะนองหรือภาษาถิ่น