ระดับของภาษา
ภาษาไทยแบ่งเป็น ๕ ระดับ
- ภาษาระดับพิธีการ ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญ
มีตำแหน่งสูง ผู้รับสารอาจเป็นบุคคลในวงการเดียวกัน หรือเป็นประชาชนทั้งประ
เทศหรือกลุ่มชนส่วนใหญ่ สารจะมีลักษณะเป็นทางการ ภาษาที่ใช้จะไพเราะสละ
สลวย มีการเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้า
- ภาษาระดับทางการ
ใช้สื่อสารกันในการอภิปราย บรรยายอย่างเป็นทางการ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
มักอยู่ในวงการเดียวกัน สารจะมีลักษณะเจาะจง น่าสนใจ ภาษาที่ใช้ตรงไปตรงมา
ใช้ภาษากะทัดรัด ความหมายชัดเจน ประหยัดถ้อยคำและเวลา
- ภาษาระดับกิ่งทางการ มักใช้ในการประชุมกลุ่ม หรืออภิปรายกลุ่ม การบรรยายในห้องเรียน เป้นการ
สื่อไปสู่กลุ่มบุคคล อาจมีการโต้ตอบบ้าง เนื้อหาของสารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้
ทั่วไปธุรกิจการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ มีศัพท์วิชาการบ้าง ภาษาที่ใช้จะทำให้
รู้สึกคุ้นเคยกว่าภาษาระดับทางการ
- ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
มักใช้ในการสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคล ๔-๕ คน ในสถานที่ไม่ใช่ส่วนตัว ผู้รับ
สารและผู้ส่งสารจะรู้จักคุ้นเคยกัน เนื้อหาของสารในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม
- ภาษาระดับกันเอง
ใช้กันในวงจำกัด ใช้กับบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน เช่น บิดา มารดา เพื่อน
สนิทในสถานที่ที่มักเป็นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ภาษาที่ใช้อาจมีคำคะนองหรือภาษาถิ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น